พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระเนื้อชานหมาก...
พระเนื้อชานหมาก ไตรมาสรูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๗
พระเนื้อชานหมาก ไตรมาสรูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๗
ปล: เนื้อผงชานหมากผสม(เกศา)
แบบนี้พบเจอน้อยมาก พบเจอในวงการน้อยมาก

(รายละเอียด)
พระเนื้อผงไตรมาสเมตตามหานิยม หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ปี พ.ศ.๒๕๑๗
- พระเนื้อผงพุทธคุณไตรมาสเมตตามหานิยม รูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จังหวัดนครพนม ปี พ.ศ.๒๕๑๗ องค์นี้มีสภาพสวย เดิม สมบรูณ์ พร้อมกล่อง โดยลักษณะพระผงรุ่นนี้จะลาน แตก หัก บิ่น เกือบทุกองค์ เนื่องมาจากมวลสารที่สร้างครับ พระที่มีสภาพสมบรูณ์อย่างเช่นองค์นี้ หาได้น้อยมากๆ ครับ

- หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม แห่งวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม พระผู้ทรงฤทธิ์แห่งบ้านข่า พระเถระผู้ใหญ่ลูกศิษย์ในสายท่านอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม

หลังจากหลวงปู่ ได้เที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐาน กับพระอาจารย์มั่น ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะภาคเหนือและประเทศใกล้เคียงเป็นเวลานานถึง ๕๗ พรรษา
ท่านจึงกลับไปสงเคราะห์ญาติโยมที่บ้านเกิดท่าน ซึ่งอยู่ที่บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ประมาณ ๒ ปีก่อนมรณะภาพ

ด้วยบารมีของท่าน ช่วงที่ท่านอยู่ท่านได้ช่วยสร้างถาวรวัตถุเพื่อบำรุงพุทธศาสนาอาท สร้างเจดีย์วัดอรัญญวิเวก สร้างโบสถ์วัดอุดมรัตนาราม สร้างโบสถ์วัดศรีวิชัย เป็นต้น

(จำนวนการสร้าง)
ท่านพระครูอดุลธรรมภาณลูกศิษย์หลวงปู่ตื้อ ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลชุดไตรมาสมีดังนี้
๑.พระหล่อรูปเหมือนฐานเจาะอุดกริ่งและฐานตัน
-เนื้อเงิน ๑๒ องค์
-เนื้อนวโลหะจำนวน ๕๐๐ องค์

๒.พระเนื้อผงรูปเหมือน
-พิมพ์สี่เหลี่ยมหันข้าง จำนวน ๒,๐๐๐ องค์
-พิมพ์ทรงกลมจันทร์ลอย จำนวน ๑,๒๐๐ องค์

๓.เหรียญทรงมะละกอ
-เนื้อเงิน ๙๐ เหรียญ
-เนื้อนวโลหะ ๒๐๐ เหรียญ
-เนื้อทองแดงกะไหล่ทองและชุบนิกเกิล จำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญ

สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ พระอาจารย์ตื้อปลุกเสกเดี่ยวและยังนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง เมื่อวันทำบุญครบ ๑๐๐ วัน ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งมีพระอาจารย์สายกรรมฐานของภาคอีสานหลายท่านร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย

วัตถุประสงค์ในการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้เพื่อนำปัจจัยไปสมทบทุนสร้างอุโบสถของวัดศรีวิชัยที่กำลังก่อสร้างอยู่

ผงไตรมาสรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นสุดท้ายที่ท่านได้อธิฐานจิตไตรมาส ก่อนที่จะมรณะภาพ

โดยท่านเสมือนท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็เลยเอ่ยปากว่า "ใครจะให้ทำอะไรก็รีบเอามา" พระรุ่นนี้จึงถือว่าเป็นที่นิยมและเก็บสะสมโดยเฉพาะลูกศิษย์ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่ตื้ออย่างมากและด้วยจำนวนการสร้างที่น้อย และพระผงชุดนี้ จะลานและมีความแตกหักง่าย จึงทำให้พระที่มีสภาพสวยเดิมและสมบูรณ์หาได้ยากมากยิ่งขึ้นครับ

ประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์
บรรดาศิษย์สายกรรมฐานส่วนใหญ่มักจะคุ้นชื่อและได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นอย่างดี ท่านมีปฏิปทาที่แปลก น้ำใจเด็ดเดี่ยว โผงผาง ตรงไปตรงมา มีแง่มุมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์มักจะกล่าวถึงเสมอๆ และเล่าถ่ายทอดต่อกันมา ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่น่าสนใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

จัดได้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นพระป่าที่ดังมากองค์หนึ่ง ในบรรดาศิษย์รุ่นแรกๆ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่ตื้อ เป็นศิษย์องค์หนึ่งที่ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในแถบป่าเข้าทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ ตลอดระยะเวลาหลายปี

ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่มั่นไว้วางใจ และมักพูดกับสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ใครอย่าไปดูถูกท่านตื้อนะ ท่านตื้อเป็นพระเถระ”

บรรดาศิษย์รุ่นหลังจะรู้จักหลวงปู่ตื้อดี เพราะท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

หลวงปู่ตื้อกับหลวงปู่แหวน มักจะเดินธุดงค์ไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่อุปนิสัยของหลวงปู่ทั้งสององค์นี้ผิดกันไกล แต่ท่านก็ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสนิทสนมกันมากที่สุด นี่ว่าตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ ท่านว่าไว้อย่างนั้น

จุดเด่นที่ทำให้หลวงปู่ตื้อ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคืออุปนิสัยขวานผ่าซากในวาจา ท่านมีนิสัยโผงผางไม่กลัวใคร มีเทศนาโวหารที่ไม่เคยไว้หน้าใครไม่ว่าคนมั่งมีหรือยาจกท่านใช้คำพูดเหมือนกันหมด พูดตรงๆ ไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่ง

ท่านบอกว่า ท่านเทศน์ตามความจริง ไม่ได้เทศน์เพื่อเอาสตางค์หรือเทศน์เพื่อเอาใจใคร

ญาติโยมบางคนบอกว่า หลวงปู่ตื้อ เทศน์หยาบคาย รับไม่ได้ก็มี

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ กำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ ท่านเทศน์ผ่านเครื่องขยายเสียง มีญาติโยมบางกลุ่มคุยกันจ๊อกแจ๊ก แข่งกับการเทศน์ของท่าน ในขณะที่ท่านหลับตาเทศนาอยู่ ท่านได้หยุดเทศน์ฉับพลัน แล้วพูดผ่านไมโครโฟนเสียงดังว่า

“เอ้า ! หลวงตาตื้อเทศน์ให้ฟัง พวกสูบ่ฟัง เอ้า ! ฟังตดซะ”

แล้วก็มีเสียงประหลาดดังผ่านลำโพงออกมาสองสามชุด ทุกคนเงียบกริบ โยมคนหนึ่งตั้งสติได้ก่อนเพื่อน จึงพูดเสียงดังว่า “ขอให้หลวงตามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์”

แล้วโยมคนอื่นๆ ก็ยกมือ และกล่าวพร้อมกับว่า “สาธุ !”

ในการเทศน์อีกครั้งหนึ่ง ได้มีกลุ่มพระภิกษุหนุ่ม เป็นมหาเปรียญและได้รับการศึกษาที่ทันสมัย ตามมาฟังเทศน์ด้วยในระหว่างที่หลวงปู่ตื้อขึ้นเทศน์ พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นซุบซิบกันพอได้ยินในกลุ่ม ไม่สามารถได้ยินไปถึงหลวงปู่ได้อย่างแน่นอน

บรรดาพระหนุ่มซุบซิบกันว่า หลวงปู่ตื้อไม่พัฒนา เทศน์โบราณ มีแต่ของเก่าๆ ไม่ทันยุคทันสมัยเลย

หลวงปู่ ท่านหยุดเทศน์ เดินตรงไปยังพระรูปนั้น ท่ามกลางความงุนงงของบรรดาญาติโยม ท่านนิมนต์พระภิกษุหนุ่มรูปนั้นขึ้นเทศน์ แล้วท่านก็พูดเสียงดังชัดเจนว่า “เอ้า ! หลวงตาจะคอยฟังคุณเหลน คุณมหา ขอให้เทศน์เอาแต่ของใหม่ๆ นะ...”

พระมหาหนุ่มรูปนั้นก็เดินขึ้นธรรมาสน์ด้วยความมั่นใจ คงคิดที่จะเทศนาธรรมแบบใหม่ตามยุคสมัย ตามแบบพระผู้มีปริญญามหาเปรียญ

เมื่อพระมหาหนุ่มขึ้นต้นว่า “นะโม...” เท่านั้น หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บอกให้หยุดเทศน์

“หยุด หยุด คุณเหลน หยุด ไม่เอา - ไม่เอา นะโม มันของเก่า มีมากว่าสองพันปีแล้วคุณเหลน...”

ญาติโยมทั้งศาลาหัวเราะกันฮาครืน !

หลวงปู่ตื้อ ท่านคุ้นเคยกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺธโร) แห่งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เวลาเข้ากรุงเทพฯ หลวงปู่จึงมาพักที่วัดแห่งนี้เสมอ

ท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวถึงหลวงปู่ตื้อ ว่า “หลวงปู่ตื้อนี้ ท่านไม่กลัวใคร ไม่ว่าสมเด็จฯ หรือแม้แต่ท่านอาจารย์มั่น ท่านก็ไม่กลัว ท่านเป็นพระที่จัดว่าดื้อทีเดียว...”

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพักจำพรรษาประจำที่และอยู่นานที่สุดที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงดาว อยู่ตรงมุมทางแยกขวาเข้าเขื่อนแม่งัด ทางไปวัดอรัญญวิเวก ของหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป นั่นเอง

ครั้งสุดท้ายท่านกลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด ที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ ณ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

- หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมว่า ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันจันทร์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม


พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุปัน
โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๒
รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง
ผู้เข้าชม
1099 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
Golf​ (ID​ LINE​:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เทพจิระNetnapatumlawyerโจ๊ก ป่าแดงน้ำตาลแดงhopperman
sirachalordtplasเอก พานิชพระเครื่องep8600tintin
termboonว.ศิลป์สยามเพ็ญจันทร์Le29Amuletเจริญสุขmon37
Manas094ยุ้ย พลานุภาพทองธนบุรีภูมิ IRgorn9chaithawat
แหลมร่มโพธิ์นิสสันพระเครื่องหนองคายก้อง วัฒนาTotoTatosomemanMannan4747

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1451 คน

เพิ่มข้อมูล

พระเนื้อชานหมาก ไตรมาสรูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๗




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระเนื้อชานหมาก ไตรมาสรูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๗
รายละเอียด
พระเนื้อชานหมาก ไตรมาสรูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๗
ปล: เนื้อผงชานหมากผสม(เกศา)
แบบนี้พบเจอน้อยมาก พบเจอในวงการน้อยมาก

(รายละเอียด)
พระเนื้อผงไตรมาสเมตตามหานิยม หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ปี พ.ศ.๒๕๑๗
- พระเนื้อผงพุทธคุณไตรมาสเมตตามหานิยม รูปเหมือนหันข้าง หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จังหวัดนครพนม ปี พ.ศ.๒๕๑๗ องค์นี้มีสภาพสวย เดิม สมบรูณ์ พร้อมกล่อง โดยลักษณะพระผงรุ่นนี้จะลาน แตก หัก บิ่น เกือบทุกองค์ เนื่องมาจากมวลสารที่สร้างครับ พระที่มีสภาพสมบรูณ์อย่างเช่นองค์นี้ หาได้น้อยมากๆ ครับ

- หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม แห่งวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม พระผู้ทรงฤทธิ์แห่งบ้านข่า พระเถระผู้ใหญ่ลูกศิษย์ในสายท่านอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม

หลังจากหลวงปู่ ได้เที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐาน กับพระอาจารย์มั่น ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะภาคเหนือและประเทศใกล้เคียงเป็นเวลานานถึง ๕๗ พรรษา
ท่านจึงกลับไปสงเคราะห์ญาติโยมที่บ้านเกิดท่าน ซึ่งอยู่ที่บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ประมาณ ๒ ปีก่อนมรณะภาพ

ด้วยบารมีของท่าน ช่วงที่ท่านอยู่ท่านได้ช่วยสร้างถาวรวัตถุเพื่อบำรุงพุทธศาสนาอาท สร้างเจดีย์วัดอรัญญวิเวก สร้างโบสถ์วัดอุดมรัตนาราม สร้างโบสถ์วัดศรีวิชัย เป็นต้น

(จำนวนการสร้าง)
ท่านพระครูอดุลธรรมภาณลูกศิษย์หลวงปู่ตื้อ ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลชุดไตรมาสมีดังนี้
๑.พระหล่อรูปเหมือนฐานเจาะอุดกริ่งและฐานตัน
-เนื้อเงิน ๑๒ องค์
-เนื้อนวโลหะจำนวน ๕๐๐ องค์

๒.พระเนื้อผงรูปเหมือน
-พิมพ์สี่เหลี่ยมหันข้าง จำนวน ๒,๐๐๐ องค์
-พิมพ์ทรงกลมจันทร์ลอย จำนวน ๑,๒๐๐ องค์

๓.เหรียญทรงมะละกอ
-เนื้อเงิน ๙๐ เหรียญ
-เนื้อนวโลหะ ๒๐๐ เหรียญ
-เนื้อทองแดงกะไหล่ทองและชุบนิกเกิล จำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญ

สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ พระอาจารย์ตื้อปลุกเสกเดี่ยวและยังนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง เมื่อวันทำบุญครบ ๑๐๐ วัน ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งมีพระอาจารย์สายกรรมฐานของภาคอีสานหลายท่านร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย

วัตถุประสงค์ในการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้เพื่อนำปัจจัยไปสมทบทุนสร้างอุโบสถของวัดศรีวิชัยที่กำลังก่อสร้างอยู่

ผงไตรมาสรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นสุดท้ายที่ท่านได้อธิฐานจิตไตรมาส ก่อนที่จะมรณะภาพ

โดยท่านเสมือนท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็เลยเอ่ยปากว่า "ใครจะให้ทำอะไรก็รีบเอามา" พระรุ่นนี้จึงถือว่าเป็นที่นิยมและเก็บสะสมโดยเฉพาะลูกศิษย์ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่ตื้ออย่างมากและด้วยจำนวนการสร้างที่น้อย และพระผงชุดนี้ จะลานและมีความแตกหักง่าย จึงทำให้พระที่มีสภาพสวยเดิมและสมบูรณ์หาได้ยากมากยิ่งขึ้นครับ

ประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์
บรรดาศิษย์สายกรรมฐานส่วนใหญ่มักจะคุ้นชื่อและได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นอย่างดี ท่านมีปฏิปทาที่แปลก น้ำใจเด็ดเดี่ยว โผงผาง ตรงไปตรงมา มีแง่มุมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์มักจะกล่าวถึงเสมอๆ และเล่าถ่ายทอดต่อกันมา ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่น่าสนใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

จัดได้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นพระป่าที่ดังมากองค์หนึ่ง ในบรรดาศิษย์รุ่นแรกๆ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่ตื้อ เป็นศิษย์องค์หนึ่งที่ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในแถบป่าเข้าทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ ตลอดระยะเวลาหลายปี

ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่มั่นไว้วางใจ และมักพูดกับสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ใครอย่าไปดูถูกท่านตื้อนะ ท่านตื้อเป็นพระเถระ”

บรรดาศิษย์รุ่นหลังจะรู้จักหลวงปู่ตื้อดี เพราะท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

หลวงปู่ตื้อกับหลวงปู่แหวน มักจะเดินธุดงค์ไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่อุปนิสัยของหลวงปู่ทั้งสององค์นี้ผิดกันไกล แต่ท่านก็ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสนิทสนมกันมากที่สุด นี่ว่าตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ ท่านว่าไว้อย่างนั้น

จุดเด่นที่ทำให้หลวงปู่ตื้อ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคืออุปนิสัยขวานผ่าซากในวาจา ท่านมีนิสัยโผงผางไม่กลัวใคร มีเทศนาโวหารที่ไม่เคยไว้หน้าใครไม่ว่าคนมั่งมีหรือยาจกท่านใช้คำพูดเหมือนกันหมด พูดตรงๆ ไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่ง

ท่านบอกว่า ท่านเทศน์ตามความจริง ไม่ได้เทศน์เพื่อเอาสตางค์หรือเทศน์เพื่อเอาใจใคร

ญาติโยมบางคนบอกว่า หลวงปู่ตื้อ เทศน์หยาบคาย รับไม่ได้ก็มี

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ กำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ ท่านเทศน์ผ่านเครื่องขยายเสียง มีญาติโยมบางกลุ่มคุยกันจ๊อกแจ๊ก แข่งกับการเทศน์ของท่าน ในขณะที่ท่านหลับตาเทศนาอยู่ ท่านได้หยุดเทศน์ฉับพลัน แล้วพูดผ่านไมโครโฟนเสียงดังว่า

“เอ้า ! หลวงตาตื้อเทศน์ให้ฟัง พวกสูบ่ฟัง เอ้า ! ฟังตดซะ”

แล้วก็มีเสียงประหลาดดังผ่านลำโพงออกมาสองสามชุด ทุกคนเงียบกริบ โยมคนหนึ่งตั้งสติได้ก่อนเพื่อน จึงพูดเสียงดังว่า “ขอให้หลวงตามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์”

แล้วโยมคนอื่นๆ ก็ยกมือ และกล่าวพร้อมกับว่า “สาธุ !”

ในการเทศน์อีกครั้งหนึ่ง ได้มีกลุ่มพระภิกษุหนุ่ม เป็นมหาเปรียญและได้รับการศึกษาที่ทันสมัย ตามมาฟังเทศน์ด้วยในระหว่างที่หลวงปู่ตื้อขึ้นเทศน์ พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นซุบซิบกันพอได้ยินในกลุ่ม ไม่สามารถได้ยินไปถึงหลวงปู่ได้อย่างแน่นอน

บรรดาพระหนุ่มซุบซิบกันว่า หลวงปู่ตื้อไม่พัฒนา เทศน์โบราณ มีแต่ของเก่าๆ ไม่ทันยุคทันสมัยเลย

หลวงปู่ ท่านหยุดเทศน์ เดินตรงไปยังพระรูปนั้น ท่ามกลางความงุนงงของบรรดาญาติโยม ท่านนิมนต์พระภิกษุหนุ่มรูปนั้นขึ้นเทศน์ แล้วท่านก็พูดเสียงดังชัดเจนว่า “เอ้า ! หลวงตาจะคอยฟังคุณเหลน คุณมหา ขอให้เทศน์เอาแต่ของใหม่ๆ นะ...”

พระมหาหนุ่มรูปนั้นก็เดินขึ้นธรรมาสน์ด้วยความมั่นใจ คงคิดที่จะเทศนาธรรมแบบใหม่ตามยุคสมัย ตามแบบพระผู้มีปริญญามหาเปรียญ

เมื่อพระมหาหนุ่มขึ้นต้นว่า “นะโม...” เท่านั้น หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บอกให้หยุดเทศน์

“หยุด หยุด คุณเหลน หยุด ไม่เอา - ไม่เอา นะโม มันของเก่า มีมากว่าสองพันปีแล้วคุณเหลน...”

ญาติโยมทั้งศาลาหัวเราะกันฮาครืน !

หลวงปู่ตื้อ ท่านคุ้นเคยกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺธโร) แห่งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เวลาเข้ากรุงเทพฯ หลวงปู่จึงมาพักที่วัดแห่งนี้เสมอ

ท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวถึงหลวงปู่ตื้อ ว่า “หลวงปู่ตื้อนี้ ท่านไม่กลัวใคร ไม่ว่าสมเด็จฯ หรือแม้แต่ท่านอาจารย์มั่น ท่านก็ไม่กลัว ท่านเป็นพระที่จัดว่าดื้อทีเดียว...”

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพักจำพรรษาประจำที่และอยู่นานที่สุดที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงดาว อยู่ตรงมุมทางแยกขวาเข้าเขื่อนแม่งัด ทางไปวัดอรัญญวิเวก ของหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป นั่นเอง

ครั้งสุดท้ายท่านกลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด ที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ ณ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

- หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมว่า ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันจันทร์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม


พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุปัน
โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๒
รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
1100 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0903569057
ID LINE
Golf​ (ID​ LINE​:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี